วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ Président de la République.



 ประธานาธิบดี (หมวด 2) คือ ประมุขแห่งรัฐ และผู้นำอำนาจบริหาร ประธานาธิบดีซึ่งเป็นตำแหน่งประมุขของสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้มาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรงของประชาชน  ตามระบบการเลือกตั้งสองรอบกล่าวคือ หากได้ผู้สมัครคนใดได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (absolute majority) จากผู้มาลงคะแนน คือ เกินกว่ากึ่งหนึ่ง ในรอบแรก (first ballot) จะถือว่าได้รับการเลือกตั้งทันที แต่ในกรณีที่ไม่มีผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงอย่างเด็ดขาด ก็จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในรอบที่สอง (second
ballot) ภายใน 2 สัปดาห์ โดยให้ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุด 2 อันดับแรกมาแข่งขันกันใหม่ ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงมากกว่าก็จะชนะการเลือกตั้ง โดยเป็นการนับคะแนนเสียงข้างมากธรรมดา (simple majority) ผู้ที่สมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งประธานาธิบดี อาจจะเป็นตัวแทนของพรรคทางการเมืองหรือไม่เป็นก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ผู้สมัครจะมาจากพรรคการเมืองเกือบทุกพรรค
   
        ปัจจุบัน ประธานาธิบดีมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตามประชามติ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2000) จากเดิมที่มีวาระการดำรงตำแหน่งถึง 7 ปี ซึ่งตำแหน่งประธานาธิบดีก็มิได้ผูกพันกับวาระการดำรงตำแหน่งของรัฐสภา หรือ ฝ่ายนิติบัญญัติ แต่อย่างใด และสามารถจะสมัครในสมัยที่ 2 หรือสมัยต่อไปได้เรื่อยๆกรณีที่ตำแหน่งว่างลงก่อนครบกำหนด ไม่ว่าโดยกรณีใดๆ อาทิ เสียชีวิต ถูกถอดถอนจากตำแหน่ง ลาออก ผู้ที่จะทำหน้าที่รักษาการแทน ก็คือ ประธานวุฒิสภา เท่านั้น
         รัฐธรรมนูญได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดีเอาไว้ในหลายๆ มาตรา สามารถสรุปได้ดังนี้
        (1) ประธานาธิบดีมีหน้าที่เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอรายชื่อ (มาตรา 8)
        (2) ประธานาธิบดีมีอำนาจในการขอให้ประชาชนมีประชามติต่างๆ ตามข้อเสนอจากรัฐบาล หรือ จากสภาสูงกับสภาผู้แทนราษฎรร่วมกัน (มาตรา 11)
        (3) ประธานาธิบดีมีอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎรได้(มาตรา 12)
        (4) ประธานาธิบดีมีอำนาจพิเศษในการประกาศภาวะฉุกเฉินกรณีเกิดวิกฤตการณ์ร้ายแรง (มาตรา 16)
        (5) ประธานาธิบดีมีหน้าที่เป็นผู้แต่งตั้งสมาชิก จำนวน 3 คน ในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ (มาตรา 56)
          นอกจากนี้ ประธานาธิบดีก็มีหน้าที่ในการเป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี (มาตรา 9) ตลอดจนเป็นผู้นำของทุกเหล่าทัพ (มาตรา 15) รวมถึงยังมีสิทธิที่จะลงนามประกาศใช้กฎหมายต่างๆ ด้วย

Président de la République.


         
Président (Section 2) est le chef de l'Etat. Et le pouvoir exécutif. Le président est le chef de la République française est élu directement par le public en général. Le second tour du système électoral. Si aucun candidat n'obtient la majorité des voix (majorité absolue) absolu de personnes qui ont voté est plus de la moitié dans le premier tour (premier tour de scrutin) sera élu immédiatement. Dans le cas où aucun candidat qui a voté de manière décisive. Il doit fournir pour la réélection au second tour (Deuxièmement.bulletin de vote) dans les deux semaines d'un candidat qui obtient les deux premières courses plus tard. Qui a gagné plus de gagner l'élection. Il s'agit d'un vote à la majorité simple (majorité simple) qui sont candidats à la présidence. Peut représenter un parti politique ou non, c'est non. Cependant, dans la pratique. Les candidats peuvent venir de presque tous les partis politiques.

 
        Le mandat présidentiel actuel du mandat est de cinq ans (par référendum un amendement constitutionnel de l'article 6, le 24 Septembre 2000) à partir d'une durée maximale de sept ans en tant que président n'était pas lié à un mandat de l'Assemblée nationale ou le président. d'une session législative et peut être appliquée dans les deux prochaines années ou plus avant l'expiration de la vacance. Que de tels décès, de démission ou de destitution est de servir de président par intérim du Sénat seulement.

         
La Constitution définit les pouvoirs et les devoirs du Président de la Section peuvent être résumés comme suit.
        
(A) a servi comme le Président nomme le Premier ministre et le gouvernement, qui est la liste proposée (article 8).
        
(2) le Président a le pouvoir de donner au peuple un référendum sur. La proposition du gouvernement ou du Sénat avec la Chambre des représentants ainsi que (article 11).
        
(3) le Président a le pouvoir de dissoudre la Chambre des représentants (article 12).
        
(4) le Président a déclaré l'état d'alimentation de secours en cas de crise grave (article 16).
        
(5) Le président nomme un troisième membre de la magistrature dans la Constitution (article 56).

          
Le Président est chargé de présider au cours de la réunion du Conseil des ministres (article 9), ainsi que des dirigeants de l'armée (article 15), y compris le droit de signer la promulgation de la loi.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น